ห้างหุ้นส่วนจำกัด ณัฐดนย์ แซนเอ็นจิเนียริ่ง
                                                   
... รักษ์โลก รักษ์สิ่งแวดล้อม 

สถิติ
เปิดเมื่อ21/08/2012
อัพเดท13/06/2014
ผู้เข้าชม33285
แสดงหน้า39162
เมนู
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




คำแนะนำและการดูแลรักษาถังบำบัดน้ำเสีย

อ่าน 4410
คำแนะนำการใช้งานและการดูแลรักษาระบบบำบัดน้ำเสีย

ระบบบำบัดน้ำเสีย ที่ทาง วิศวกรของห้างฯ กล่าวถึง ได้แก่
ถังดักไขมันและ ถังบำบัดน้ำเสีย นั่นเอง


เรามาดู ข้อหลักของการดูแลถังดักไขมัน กันก่อนเลย...

 กรณี เป็นถังดักไขมันใต้ซิงค์
           - ระยะเวลาในการนำขยะในตะแกรงออกไปทิ้ง
                    ควรทำทุกวันเพื่อป้องกันการกลิ่นเน่าเหม็น
                       และควรตักแยกไขมันที่สะสมในถังดักไขมันทุกส่วนออกไปกำจัดทุกวัน เช่นกัน เพื่อป้องกันไม่ให้กลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ ไปรบกวนตัวเราเองและคนรอบข้าง  อีกทั้ง ยังทำให้ถังดักไขมันของเรา มีการทำงานที่ดีขึ้นด้วย (ไม่อุดตัน ,น้ำไหลสะดวก)



กรณี ที่ใช้ถังดักฝังดิน 
       
   - ควรแยกเศษอาหารและขยะ ออกทิ้งก่อน การล้างภาชนะ
                     เพื่อไม่ใช้ เศษอาหารและขยะเหล่านั้น ไปหมักหมมอยู่ในถัง ซึ่งจะส่งผลให้ถังของเรามีกลิ่นมาก และอาจทำให้ท่อน้ำเสียอุดตัน อีกด้วย


ส่วนการดูแลรักษา ที่ทั้งถังดักไขมันและถังบำบัดน้ำเสีย สิ่งที่ต้องทำเหมือนกัน ได้แก่ ?? 

       ไม่ควรทิ้งเศษสิ่งแปลกปลอมต่างๆที่ย่อยสลายไม่ได้ เช่นถุงพลาสติก ผ้าอนามัย เป็นต้น เหตุผลเดียวกับถังดักไขมันฝังดินเลย มีกลิ่น ท่ออุดตัน แถมถังของเรา ยังเต็มเร็วขึ้นอีก


        การใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ ไม่ควรใช้น้ำยาล้างห้องน้ำ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่มีความเข้นข้น มากเกินไป และล้างห้องน้ำถี่เกินไป 
 ระยะเวลาที่เหมาะสมในการล้างห้องน้ำ ควรจะเป็นสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แต่ถ้าดูแล้วห้องน้ำของเราเอง สกปรกมาก ก็อาจจะซัก 3-4 วันครั้ง  เนื่องจาก น้ำยาเข้มข้น จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์(เชื้อที่บำบัดน้ำเสีย) ทำให้ตายลง ถังของเรา จะเสิ่อมประสิทธิภาพลงเช่นกัน (เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ถังมีกลิ่นเหม็น)

 

       ที่สำคัญ ควรทำการสูบกำจัดตะกอนในส่วนเกรอะของถัง อย่างน้อยปีละ 1  ครั้ง
เนื่องจาก ในถังมีถังตะกอนที่ย่อยสลายไม่ได้และ ย่อยสลายได้ ส่งผลให้ถัง(ส้วม) เต็ม ทำให้ปริมาตรถังน้อยกว่าความเป็นจริง ถังเราจึงมีประสิทธิภาพลดลง (ส่วนนี้ ก็เป็นอีกสาเหตุของ ถังมีกลิ่นเหม็นเช่นกัน) 
หน่วยงานที่ ทำหน้าที่ด้านนี้ ก็คือเทศบาล นั่นเอง 
และ ข้อแนะนำอีกข้อ คือ ระหว่างสูบตะกอนนั่น ควรรีบเติมน้ำกลับเข้าไปด้วย เพื่อป้องกัน แรงดันจากดินด้านข้าง ดันถัง ทำให้ถังแตกเสียหายได้

       ควรตรวจสอบท่อระบายอากาศ(ซึ่งจำเป็นต้องต่อขึ้นที่สูง เพื่อป้องกันกลิ่นรบกวนคนรอบข้าง) ว่ายังใช้การได้ดีอยู่หรือไม่
มีการแตกหักชำรุด เสียหาย หรือไม่ ซึ่งอาจทำให้น้ำขังภายในท่อ อากาศไม่สามารถระบายขึ้นที่สูงได้ หรือมีกลิ่นออกมาต่อที่แตกหักเสียหาย (ส่วนนี้ ก็เป็นอีกสาเหตุของ ถังมีกลิ่นเหม็นเช่นกัน)

       ควรตรวจทางเข้า ออก ของน้ำเสีย(หรือทางไหลของน้ำ) มายังไหลสะดวกหรือไม่ มีสิ่งอุดตันภายในท่อหรือไม่ ถ้ามีการอุดตัน จะเป็นสาเหตุ หนึ่ง ที่อาจทำให้ กดน้ำส่วนโถส้วมไม่ลง เป็นต้น


<< ดูรายละเอียดมาก แต่ถ้าทำความเข้าใจได้แล้ว ก็จะไม่ยากเลย >>